ยินดีต้อนรับ สู่บล็อกของ นางสาวกัตติกา สบานงา เอกการศึกษาปฐมวัย วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ครับ

วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สรุปบทความ
  
   ชื่อบทความ :  ทำอย่างไรเมื่อลูกไม่เข้าใจเรื่องจำนวนและค่าของเลข
   โดย : อาจารย์ธิดา พิทักษ์สินสุข 

   ทำอย่างไรเมื่อลูกไม่เข้าใจเรื่องจำนวนและค่าของเลข
    1.ทำให้คณิตศาสตรืเป็นเรื่องจับต้องได้
        ต้องไม่เอาแบบฝึกหัดให้ลูกทำ เริ่มต้น 1-3 ให้แม่นยำก่อน โดยสอนให้สอดคล้องกับกิจกรรมในบ้าน เช่น นับไปด้วยกินไปด้วย คุณแม่กินไส้กรอก 2 ชิ้น ลูกกินไส้กรอกไป2 ชิ้น แล้วจะให้คุณพ่อกินไส้หรอกกี่ชิ้นดี เป็นต้น หรือไม่ก้ให้นับสิ่งของในบ้าน นับกันบ่อยๆ ลูกจะค่อยๆประมวลความเข้าใจเกี่ยวกับค่าและจำนวนเอง
    2.ทำให้คณิตศาสตร์เป็นเรื่องสนุกและท้าทายความสามารถ
           เด็กจะเรียนรู้ผ่านการเล่นและทำกิจกรรม ในการฝึกฝนควรหาของเล่นที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์มาให้เล่น เช่น ต่อจิกซอว์ตัวเลขกับภาพ อ่านป้ายทะเบียนรถ ทอยลูกเต๋าแล้วกระโดเท่ากับจำนวน หรือหยอบบัตรคำเท่ากับจำนวน เป็นต้น 

แนวทางส่งเสริมการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับลูก
1.ทำความเข้าใจ คือ การเรียนรู้ของเด็กเล็กมีประสิทธิภาพนั้น จะต้องเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ จากการลงไม้ลงมือ ดังนั้นการเรียนรู้คณิตศาสตรืซึ่งเป็นเรื่องนามธรรมยิ่งจำเป็นที่ต้องเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ เพราะการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจะก่อให้เกิดความเข้าใจในความคิดรวบยอด
2.การเรียนรู้คณิตศาสตร์เป็นเสมือนการขึ้นบันไดบันไดขั้นต้นจะนำไปสู่ความเข้าใจในเรื่องต่อๆไป

การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำไปใช้กับเด็กได้จริงๆและพ่อแม่ของเด็กก็ควรมีเวลาสำหรับลูก ค่อยฝึกฝนลูกบ่อยๆ ก็จะทำให้ลูกเข้าใจเร็วขึ้น 


สรุปโทรทศน์ครู

   
       สรุปจากเรื่อง :  พัฒนาการสอนคณิตศาสตร์ การเรียนการสอนขั้นพื้นฐาน ระดับปฐมวัย
            จากดิฉันได้ดูโทรทัศน์ครู ทำให้รู้ว่าการสอนคณิตศาสตร์เป็นรายบุคคลทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ถ้าเด็กสามารถทำให้เด็กมั่นใจกับการคิดเลข และการใช้ตัวเลขเนิ่นๆ จะมีผลต่อการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็ก  การปูพื้นฐานคณิตศาสตร์ให้แน่นและเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมประจำวัน  การเรียนการสอนควรมีคณิตศาสตร์อย่างน้อยหนึ่งครั้ง การใช้เพลงเป็นสื่อในการเรียนการสอน เพราะเด็กสามารถร้องร่วมไปได้และมีท่าทางประกอบ ซึ่งช่วยฝนการเรียนรุ้มีความหลากหลายมากขึ้น ควรเน้นเรื่องตัวเลขและการนับเลข ถ้าเด็กไม่เน้นเรื่องนี้ เด็กจะไม่อยากเรียนการบวกเลขต่อ  มุมมองทางคณิตศาสตร์ของครูมีผลกระทบต่อเด็ก ถ้าเป็นสิ่งที่ครูชอบทำชอบสอน มันจะสะท้อนออกมาให้เห็นในเด็ก ขั้นตอนการคิดโดยให้มีครูช่วย มากกว่าการนำเด็ก และคณิตศาสตร์ไม่ใช่มีเพียงในห้องเรียน มันมีอยู่ทุกที่ ไม่ว่าจะในห้องเรียน ที่บ้าน หรือเล่นข้างนอก 

การนำมาประยุกต์ใช้
1.เราควรให้คณิตศาสตร์มาเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมประจำวัน
2.การใช้เพลงเป็นสื่อในการสอนช่วยในการเรียนรู้ให้มีความหลากหลายยิ่งขึ้น
3.ในการทำกิจกรรมไม่ใช่ทำเพียงในห้องเรียน แต่สามารถทำนอกห้องเรียนหรือที่บ้านก็ได้
4.ครูไม่ควรเป็นผู้นำเด็ก แต่ให้ครูคอยเป็นผู้ช่วยเด็ก 
    
สื่อ
   อุปกรณ์ 
1.กระดาษหลังรูป
2.กระดาษสีต่างๆ
3.ตัวหนีบ
4.กาวร้อน
5.แผ่นใส
6.เทปสีติดขอบ
7.กาวลาแท็กซ์
8.กรรไกร
9.กระดาษแข็งสี
10.ไม้บรรทัด
11.รูปตัวเลข
12.รูปจำนวนต่างๆ
13.กาวยูฮู้
14.ตีนตุ๊กแก

วิธีการทำสื่อ 
ฐาน
1.ตัดกระดาษหลังรูปเป็นวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 5 นิ้ว และอีกอันเส้นผ่าศูนย์กลาง 6นิ้ว

2.นำกระดาษสีมาติดบนกระดาษหลังรูป ทั้ง2 อันโดยให้มีสีแตกต่างกัน
3.นำกระดาษหลังรูปมาติดกันโดยให้อันที่ีมีเส้นผ่าศูนย์กลาง5 นิ้ววางไว้ข้างบน
4.แบ่งช่องให้เท่ากัน ประมาน10 ช่อง
5.นำเทปสีติดมาติดตามเส้นที่วัดไว้

6.นำแผ่นใสมาเคลือบติดบนกระดาษหลังรูป 
7.จากนั้นก็ติดตีนตุ๊กแกให้อยู่ในระหว่างช่อง ทั้ง 10 ช่อง

ชิ้นส่วนจำนวน
8.นำกระดาษสีมาตัดเป็นส่วนๆ ให้เท่ากัน
9. แล้วนำรูปมาติดเป็นจำนวน บนกระดาษแข็งสีนั้น 1 อันต่อ 1 จำนวน

10.นำแผ่นใสมาเคลือบติดบนกระดาษแข็ง
11.นำตีนตุ๊กแกมาติดข้างหลังของกระดาษแข็งสี

ตัวหนีบตัวเลข
12.ตัดกระดาษแข็งสีเป็นวงกลม ประมาณ 10 ชิ้น 
13.นำรูปตัวเลขไปติดบนกระดาษแข็งสีที่เป็นวงกลม
    
14.เคลือบให้เรียบร้อย 
15.ให้นำกระดาษสีที่เคลือบแล้วมาติดบนไม้หนีบ โดยใช้กาวยูฮู้

16.ตรวจเช็คความเรียบร้อย


การนำไปใช้กับเด็ก






เรียนครั้งที่15
บันทึกอนุทิน
วันที่ 13 กุมภาพันธ์  พ.ศ.2557
ครั้งที่13  เวลาเข้าเรียน 08.30 น. - 12.20 น. 
เวลาสอน 08.30 น.  เวลาเข้าเรียน 08.30 น.   เวลาเลิกเรียน 12.20 น.
       อาจารย์ทบทวนเนื้อหา เกี่ยวกับสาระทางคณิตศาสตร์ มีทั้งหมด 6 สาระ และนำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก
สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2  การวัด
สาระที่3 เรขาคณิต
สาระที่4 พีชคณิต
สาระที่5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
               วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอ แผ่นพับเกี่ยวกับให้ความรู้แก่ผู้ปกครองของกลุ่มตนเองและกลุ่มอื่นๆ
      กลุ่มที่1 กุ๊กไก่หลายชนิด

      กลุ่มที่2 คณิตศาสตร์กับส่วนประกอบของไก่


      กลุ่มที่3 เรียนรู้ประโยชน์และโทษของไก่


      กลุ่มที่4  ไข่และคณิตศาสตร์
      กลุ่มที่5  ความรู้สู่ผู้ปกครอง

การประเมิน
ประเมินตนเอง   มีความเข้าใจในเนื้อหา และสามารถทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนได้
ประเมินเพื่อน   เพื่อนตั้งใจฟังอาจารย์และตั้งใจเพื่อนนำเสนอแผ่นพับ
ประเมินอาจารย์   อาจารย์สอนได้ดีและมีคำแนะนำให้แก่นักศึกษา



วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สรุปงานวิจัย

ชื่อวิจัย  ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่เล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต 

ผู้วิจัย  ปณิชา มโนสิทธยากร 

ความมุ่งหมายของการวิจัย  1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวยก่อนและหลังการเล่นเกมการศึกษาที่เน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต
                                             2. เพื่อศึกษาระดับและการเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการเล่นเกมการศึกษาที่เน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต

ความสําคัญของการวิจัย   เพื่อศึกษาผลของการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์จากการเล่นเกมการศึกษา เน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต การเปรียบเทียบ การจําแนก การจัดหมวดหมู่ การเรียงลําดับ การบอกตําแหน่ง การนับเลข ของเด็กปฐมวัย ซึ่งจะเป็นแนวทางในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย สําหรับครู ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

กลุ่มตัวอย่าง   กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี ชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนจิ้นเตอะ เขตสาทร จังหวัดกรุงเทพมหานคร สังกัดสํานักบริหารงาน
คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 จํานวน 30 คน

สรุปผลการวิจัย  ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและรายด้านของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมเล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนรูปเรขาคณิตสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา เน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต
                            เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและรายด้าน หลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิตอยู่ในระดับดี โดยมีการเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สูงขึ้นในรายด้าน คือ ด้านการเรียงลําดับเป็นอันดับแรก ด้านการเปรียบเทียบเป็นระดับที่สอง ด้านการจัดหมวดหมู่ ด้านการบอกตําแหน่ง ด้านการรู้ค่ารู้จํานวน ตามลําดับ






เรีนนครั้งที่14 
บันทึกอนุทิน
วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
ครั้งที่ 14 เวลาเรียน 08.30 น.- 12.20 น. 
เวลาเข้าสอน 08.30 น.  เวลาเข้าเรียน 08.30 น.  เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

              วันนี้มีการสอบเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ โดยอาจารย์ให้ทำข้อสอบออกมาเป็น mind map แล้วตั้งหัวข้อเอง โดยมีหัวข้อหลัก คือ 
1.ความหมาย ความสำคัญ จุดมุ่งหมาย ของคณิตศาสตร์
2.สาระทางคณิตศาสตร์ 
3.การจัดประสบการณ์ บทบาทครู บทบาทผู้ปกครอง

กิจกรรมวันนี้
อาจารยให้จับกลุ่ม ตามวันเหมือนเดิม แล้วให้ทำแผ่นพับ เพื่อนำไปแจกผู้ปกครอง โดยกลุ่มของข้าพเจ้า ทำเรื่อง ส่วนประกอบของไก่ 
โดยมีส่วนประกอบของแผ่นพับดังนี้
หน้าปก - สานสัมพันธ์บ้านและโรงเรียน เรื่องส่วนประกอบของไก่
หน้าที่สอง - เนื้อหาของส่วนปรกอบของไก่
หน้าที่สาม - เนื้อหาสาระทางคณิตศาสตร์ 
หน้าที่สี่ - เกมมาหาคู่กัน
หน้าที่ห้า - น้องน้อยหน่าไปจ่ายตลาด
หน้าที่หก - แนวการสอนคณิตศาสตร์สำหรับผู้ปกครอง และรายชื่อผู้จัดทำ

การนำไปใช้
 เราสามารถนำวิธีการทำ แผ่นพับไปใช้ในในวิชาต่างๆได้และยังสามารถนำไปใช้ในอนาคตเมื่อเราได้เป็นครู เพื่อทำแผ่นพับแจกแก่ผู้ปกครองของเด็ก 

การประเมิน
ประเมินตนเอง   วันนี้มีส่วนร่วมในการคิด และการทำ แผ่นพับ และพยายามคิด mind map ของตนเองบางหัวข้อก็จำเนื้อหาไม่ค่อยได้
ประเมินเพื่อน    เพื่อนมีความตั้งใจในการทำ mind map และ มีส่วนร่วมในการทำแผ่นพับของแต่ละกลุ่ม 
ประเมินอาจารย์     อาจารย์มีเทคนิคในการสอนที่ดี โดยให้นักศึกษาคิดก่อนด้วยตัวเอง ไม่มีการผิดการถูก แล้วอาจารย์จะให้คำแนะนำทีหลังเพิ่มเติม

วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เรียนครั้งที่13
บันทึกอนุทิน
วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557
ครั้งที่ 13  เวลาเรียน 08.30 น. - 12.20 น.
เวลาเข้าสอน  08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น. 

               ในช่วงต้นคาบเรียน อาจารย์ทบทวนการเรียนครั้งที่ผ่านมา เกี่ยวกับการเขียนแผนจัดประสบการณ์ หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้แต่ละกลุ่มออกมาสอบสอนแผนการจัดประสบการณ์

กลุ่ม2 วันอังคาร เรื่อง ลักษณะของไข่


กลุ่ม3 วันพุธ เรื่องส่วนประกอบของไก่



กลุ่ม4 วันพฤหัสบดี เรื่องประโยชน์และโทษของไก่


กลุ่ม5 วันศุกร์ เรื่องการดูแลรักษาไก่


    เมื่อทุกกลุ่มออกสอบสอนตามแผนการจัดประสบการณ์แล้ว อาจารย์ก็ให้ทุกกลุ่มอัดวิดีโอการสอน โดยต้องให้ทุกคนในกลุ่มได้สอนทุกคน 

การประเมิน
ประเมินตนเอง  รู้สึกเป็นกังวลในการสอบสอนตามแผนการจัดประสบการณ์มาก 
ประเมินเพื่อน    เพื่อนมีความตั้งใจในการสอบสอนและ ตั้งใจฟังกลุ่มอื่นในการสอบสอน 
ประเมินอาจารย์   อาจารย์ให้คำแนะนำและเทคนิคในการสอบสอนตามแผนการจัดประสบการณ์เป็นอย่างมาก